การพัฒนาและออกแบบชุดการสอน เรื่องการเลือกทำตามเงื่อนไข โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ (CCPR Model) รายวิชา คอมพิวเตอร์และการเขียน โปรแกรม
Development and Design Instruction Package in Computer and Programming on Condition Statement using CCPR Learning Model
Abstract
การจัดการเรียนรู้จะต้องเน้นให้นักศึกษาเป็นบุคคลที่รู้จริง ทำได้ ถ่ายทอดเป็น เน้นคุณธรรม และนำสังคม ซึ่งการจัดการเรียนรู้ที่จะทำให้นักศึกษาเป็นดังเป้าประสงค์ที่วางไว้นั้น จำเป็นต้องมีการกำหนดกิจกรรมที่สามารถทำให้นักศึกษารู้จักคิด แก้ปัญหา และสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 มาตรา 24(1-3) [5] สรุปได้ว่า การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความสนใจและความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการเรียนคิด และฝึกให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น การเรียนรู้วิชาไมโครคอนโทรลเลอร์ ของนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (5 ปี) ปรับปรุง พ.ศ. 2558 คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เทคโนโลยีไมโครคอนโทรลเลอร์ การโปรแกรมภาษาซี อินพุตและเอาต์พุตเบื้องต้น การแสดงผลตัวเลขเจ็ดส่วน การแสดงผลแบบจุดที่มีการต่อแบบเมตริกซ์ ตัวแสดงผลแบบผลึกเหลว สวิตช์ที่มีการต่อแบบเมตริกซ์ สัญญาณอนาล็อกและดิจิตอล การขัดจังหวะ หน่วยความจำ ตัวจับเวลาและตัวนับ การขับมอเตอร์ด้วยการปรับความกว้างพัลส์ สเต็ปเปอร์มอเตอร์ การสื่อสารข้อมูล และปฏิบัติการทดลองตามใบงาน จากการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมาจะพบเจอในเรื่องความแตกต่างระหว่างนักศึกษาที่เรียนเก่งกับนักศึกษาที่เรียนอ่อน นักศึกษาที่เรียนเก่งก็สามารถเรียนรู้ได้เร็ว และทำคะแนนสอบได้กว่าและไม่ค่อยสนใจนักศึกษาที่เรียนอ่อน หรือไม่อยากให้เข้ามาร่วมกลุ่มด้วย ทำให้ผู้สอนต้องสอนนักศึกษาที่เรียนอ่อนซ้ำๆ เป็นผลให้นักศึกษาที่เรียนเก่งก็เกิดความเบื่อหน่ายเพราะเป็นเนื้อหาที่ตนเองเรียนเข้าใจแล้ว ซึ่งวิธีการหนึ่งที่จะนำมาแก้ปัญหา คือ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งสัมพันธ์กับที่ Slavin (1995, P. 5) ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีหลายชนิด ได้แก่เทคนิคการแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน STAD , เทคนิคการเรียนรู้แบบย้ายกลุ่มการแข่งขัน (TGT) , เทคนิคการเรียนรู้แบบกลุ่มการต่อเนื่อง (Jigsaw) , เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Co op Co op) และเทคนิคการเรียนรู้แบบสืบสวน (GI) เป็นต้น ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD (Student Teams Achievement Divisions) เป็นเทคนิคหนึ่งของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ที่ดี โดยมีหลักการจัดกิจกรรมที่สำคัญดังนี้ คือ แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะมีนักศึกษาที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน การจัดกิจกรรมจะเริ่มต้นจากครูผู้สอนนำเสนอบทเรียนแล้วจึงให้นักศึกษาทำงานเป็นทีม หรือเป็นกลุ่ม และเมื่อมั่นใจว่านักศึกษาทุกกลุ่มมีความเข้าใจในบทเรียนจึงทำการทดสอบย่อย โดยที่ไม่ให้นักศึกษาปรึกษาหารือกัน คะแนนจากการทำแบบทดสอบย่อยของนักศึกษาแต่ละคนจะถูกเปรียบเทียบกับคะแนนฐาน จากนั้นจึงนำมาคิดเป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่ม ซึ่งกลุ่มที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดจะได้รับรางวัล กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นจะดำเนินเป็นลูป เริ่มตั้งแต่ครูผู้สอนนำเสนอบทเรียน การทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่ม และการทำแบบทดสอบย่อย ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจะต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน และแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้บรรลุผลสำเร็จร่วมกัน กลุ่มจะประสบความสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับความสามารถของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม และการเรียนรู้ที่ช่วยเหลือร่วมมือกันเป็นสำคัญ วิธีการนี้จึงเหมาะในการนำมาใช้สร้างแรงจูงใจให้กับนักศึกษาให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น และจากความหมายของการเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้เรียนให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องและดีกว่า บุคคลจะเกิดการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นตอบสนองต่อกระบวนการของสิ่งเร้า เรียกว่า กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นสนใจปัญหา (Motivation) ขั้นศึกษาข้อมูล (Information) ขั้นพยายาม (Application) และขั้นสำเร็จ (Progress) หรือเรียกกระบวนการเรียนรู้ แบบ MIAP [
Collections
- Research Reports [42]