Show simple item record

Management to Value Added of Fruits from Large Scale Farms in Nakhon Si Thammarat Province

dc.contributor.authorNomchit Kaewthai Andrei | น้อมจิตต์ แก้วไทย อันเดรen_US
dc.date.accessioned2022-04-20T02:08:18Z
dc.date.available2022-04-20T02:08:18Z
dc.date.issued2021
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/3802
dc.description.abstractสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อการระบายสินค้าเกษตรกรเนื่องจากมีอายุ จัดเก็บสั้น การจำกัดการเดินทาง การเปลี่ยนแปลงของความต้องการสินค้าของผู้บริโภค การจำกัด นโยบายทางการค้าและความกดดันทางด้านการเงินในห่วงโซ่อุปทาน ทุเรียนและมังคุดเป็นหนึ่งใน ผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ได้รับผลกระทบ เดิมเกษตรกรจำหน่ายผลผลิต ผ่านระบบพ่อค้าคนกลาง แต่สถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ระบบการจัดการของ พ่อค้าคนกลางมีข้อจำกัดและบางครั้งหยุดการรับซื้อผลไม้จึงจำเป็นต้องมีวิธีการกระจายผลผลิตที่เป็น ทางเลือกใหม่ทั้งระบบออนไลน์และออฟไลน์ ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบริหารจัดการและ ยกระดับไม้ผลเศรษฐกิจและผลิตภัณฑ์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ โดยศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการ ตัดสินใจซื้อมังคุดและทุเรียน การจัดการคุณภาพของมังคุดและทุเรียนและผลิตภัณฑ์การวิเคราะห์ ต้นทุนและผลตอบแทน และการจัดช่องทางจำหน่าย สู่การจำหน่ายในระบบตลาดออนไลน์และ ออฟไลน์เพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคความปกติรูปแบบใหม่ การพัฒนาและยกระดับ คุณภาพของสินค้า ในการศึกษานี้คัดเลือกวิสาหกิจชุมชนมังคุดและทุเรียนแปลงใหญ่อย่างละ 2 วิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลไม้ 1 ชุมชน ในขั้นต้นดำเนินการวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนและจัดทำ แผนธุรกิจของมังคุดและทุเรียน โดยพบว่า แผนธุรกิจของมังคุดและทุเรียนมีความแตกต่างกันในด้าน ช่องทางจำหน่ายเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านกลิ่นของทุเรียนสำหรับการขนส่งทางอากาศ การวิเคราะห์ พฤติกรรมผู้บริโภค พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อเพื่อรับประทานเอง ปริมาณการซื้อมังคุด 2-3 กิโลกรัม ขนาดของมังคุด 10-13 ผลต่อกิโลกรัม สำหรับทุเรียนขนาดของผลทุเรียนน้ำหนักเฉลี่ยต่อผล 2.1-3 กิโลกรัม นอกจากนี้พบว่า ปัจจัยด้านส่วนประสมทางด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ คือ ความปลอดภัยและคุณภาพ รสชาติราคา ป้ายแสดงราคา และความสะดวกในการซื้อ ในด้านการ ส่งเสริมการตลาด จัดกิจกรรม งานเทศกาล ชมชิมซื้อในสวน และการแนะนำคุณภาพของผลไม้ของ ผู้ขาย การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์มังคุดดำเนินการโดยคัดเกรดมังคุดตกเป็นมังคุดเกรด B+ และ C+ เพิ่มขึ้นจากมาตรฐานสินค้าเกษตร การสร้างจุดเด่นให้กับมังคุดที่มีผิวแตกต่างกัน คือ มังคุดแก้ว มังคุดลายมังกร และมังคุดคลีน นอกจากนี้ได้วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ การสร้าง สตอรี่และเล่าเรื่องบนบรรจุภัณฑ์การสร้างแบรนด์สินค้าของมังคุดอำเภอฉวางเป็น ราชินีแห่งสายน้ำ และมังคุดอำเภอพิปูน เป็นราชินีแดนใต้ ส่วนผลิตภัณฑ์มังคุดได้ดำเนินออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ ที่ตอบรับความต้องการของตลาด 2 ผลิตภัณฑ์ คือ แยมและผงเปลือกมังคุด และตรวจคุณภาพของ ทางเคมีและจุลินทรีย์พบว่า ผงเปลือกมังคุดและแยมมีคุณภาพทางเคมี จุลินทรีย์ตรงตามมาตรฐาน นอกจากนี้พบว่าสารสำคัญในผงเปลือกมังคุดมีปริมาณสูง สำหรับแยมมีการวิเคราะห์คุณค่าทาง โภชนาการและจัดทำฉลากโภชนาการ สำหรับทุเรียนมีการออกแบบการจำหน่าย 3 แบบ คือ ทุเรียนทั้งผล ทุเรียนเหลา และทุเรียน ตัดแต่งบรรจุกล่อง โดยใช้ปากกาวัดความสุกของทุเรียนเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความสุกให้ตรง กับความต้องการของผู้บริโภค และใช้กล่องเก็บกลิ่นสำหรับทุเรียนตัดแต่ง ออกแบบฉลากและป้าย สินค้าที่มีคิวอาร์โค้ดระบุสวนและคุณค่าทางโภชนาการในการทดสอบการขนส่งเพื่อการจำหน่าย ทุเรียนปอกบรรจุกล่อง พบว่า สามารถขนส่งในสภาวะที่ไม่มีการควบคุมอุณหภูมิเย็นได้เป็นเวลา 5 ชั่วโมง และการขนส่งโดยการควบคุบความเย็นได้เป็นเวลา 2 วัน โดยที่คุณภาพเป็นที่ยอมรับของ ผู้บริโภค การเปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนเดิมกับผลตอบแทนหลังการพัฒนาและนำสินค้าของ ชุมชนเข้าสู่ช่องทางการจำหน่ายออนไลน์พบว่า ต้นทุนการจัดการมังคุดทั้งระบบเพิ่มขึ้นจาก 13.93 เป็น 19.73 บาทต่อกิโลกรัม โดยการบริหารจัดการแบบใหม่มีผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) เท่ากับ87.73 เปอร์เซ็นต์สูงกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนระบบล้ง (25.6373 เปอร์เซ็นต์) ต้นทุนการผลิตทุเรียนเดิมเท่ากับ 14.54 บาท เมื่อจำหน่ายแบบผลสดในตลาดออนไลน์ทำให้ ต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 65.37 บาทต่อกิโลกรัม และมีผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 152.41 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์แยมและผงเปลือกมังคุด พบว่า ผลิตภัณฑ์แยมมีต้นทุน เท่ากับ 43.02 บาทต่อขวด และมีผลตอบแทนจากการลงทุนเท่ากับ 97.58 เปอร์เซ็นต์ส่วนผงเปลือกมังคุดขนาดบรรจุ 500 และ 1 กิโลกรัม มีต้นทุนเท่ากับ 82.68 และ 152.55 บาท ตามลำดับ และมีผลตอบแทนจากการลงทุน เท่ากับ 323.32 และ 293.31 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การพัฒนาช่องทางจำหน่ายออกแบบหลายช่องทาง ได้แก่ ช่องทางออนไลน์บนเฟสบุ๊ค แฟน เพจ และช่องทางออฟไลน์โดยการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงแรม ตลาดนัดผลไม้ใน สนามบิน และสวนของเกษตรกร ในทางปฏิบัติที่เป็นช่วงระบาดของโควิด-19การจำหน่ายตรงให้ ผู้บริโภคบนตลาดออนไลน์เป็นช่องทางการกระจายที่ดีที่สุด อย่างไรก็ตามการอบรมและเป็นพี่เลี้ยงใน สถานการณ์จริงเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาเกษตรกรเป็นผู้ประกอบการการดำเนินการดังกล่าวจะ เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคเกษตรกรรมและชุมชน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรและชุมชุนอย่างต่อเนื่องเป็นผลให้เศรษฐกิจฐานรากเกิดการฟื้นฟูและขับเคลื่อนต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectมังคุดen_US
dc.subjectทุเรียนen_US
dc.subjectการจัดการผลไม้en_US
dc.subjectการแพร่ระบาดของโควิด -19en_US
dc.titleการจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลไม้ของกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.titleManagement to Value Added of Fruits from Large Scale Farms in Nakhon Si Thammarat Provinceen_US
dc.typeResearch Reportsen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record