Show simple item record

The Development of Sustainable Indicators for Khuan Khaeng Swamp Forest Management in Nakhon Si Thammarat Province

dc.contributor.authorNoppajuk Nunoy | นพจักร หนูน้อยen_US
dc.contributor.authorDecharut Sukkumnoed | เดชรัต สุขกำเนิดen_US
dc.date.accessioned2020-09-02T04:56:10Z
dc.date.available2020-09-02T04:56:10Z
dc.date.issued2019
dc.identifier.issn2673-0197
dc.identifier.urihttps://www.repository.rmutsv.ac.th/handle/123456789/1077
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับการจัดการป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ความยั่งยืนของป่าพรุควนเคร็ง เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดความยั่งยืนของป่าพรุควนเคร็ง และศึกษาแนวทางการใช้ตัวชี้วัดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะลงเป็นผู้อาวุโสและปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มนักวิชาการ/นักวิจัยในพื้นที่ รวมทั้งสิ้น 13 คน กำหนดพื้นที่ศึกษา คือ ตำบลแม่เจ้าอยู่หัว อำเภอเชียรใหญ่ ตำบลบ้านตูลและตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิเคราะห์ความยั่งยืนของป่าพรุควนเคร็ง จากการประยุกต์ใช้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวคิดเกี่ยวกับนิเวศบริการ และแนวคิดเรื่องตัวชี้วัด พบว่า 1) มิติเวลา แบ่งเป็น ช่วงก่อน พ.ศ. 2505 ยุคในน้ำมีปลาในป่า มีต้นไม้ ช่วงพ.ศ. 2505 ยุควาตภัยทำลายธรรมชาติ และช่วงหลัง พ.ศ. 2505 ยุคบุกรุก จับจอง ถือครอง 2) มิติเชิงพื้นที่ แบ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกทำลายจากการใช้ประโยชน์จากป่าพรุ และพื้นที่ที่ได้รับการพัฒนา จากแนวคิดการพัฒนาพื้นที่เกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ 3) มิติเชิงกลุ่มคน ประกอบด้วย กลุ่มคนภายใน ที่พึ่งพาป่าพรุในการดำเนินชีวิต และกลุ่มคนภายนอก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มนายทุนที่มาซื้อที่ดินจากชาวบ้าน 2) กลุ่มประชาชนนอกพื้นที่หรือนักท่องเที่ยว และ 3) กลุ่มหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน 4) มิติเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น การปฏิบัติการทางตรง เช่นการปลูกป่า การดูแลป้องกันไม่ให้มีคนบุกรุกป่าหรือเผาป่า ส่วนการปฏิบัติการทางอ้อม เช่น การส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีอาชีพและมีรายได้เสริม ซึ่งมิติทั้ง 4 ด้าน เป็นฐานคิดสำคัญในการชี้วัดการพัฒนาความยั่งยืนของป่าพรุ ส่วนแนวทางการใช้ตัวชี้วัดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรป่าพรุควนเคร็งและแนวทางการนำตัวชี้วัดไปใช้ในพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีดังนี้ 1) ป้องกันและควบคุมไม่ให้เกิดไปไฟไหม้ป่าโดยหน่วยงานท้องถิ่นประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านช่วยกันเฝ้าระวังการเข้าไปทำลายป่าพรุ 2) สร้างอาชีพให้ชาวบ้านมีรายได้ มีความรู้ในงานฝีมือ เช่น การแปรรูปกระจูดเป็นผลิตภัณฑ์ 3) สร้างและดูแลคูเติมน้ำเพื่อใช้ดับไฟที่ลุกไหม้ในป่าพรุโดยเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ สถานีควบคุมไฟป่าและหน่วยงานท้องถิ่นวางแผนจัดการขุดคูน้ำที่ใช้ระบายน้ำและเติมน้ำตามแนวเส้นทางน้ำไหล 4) การควบคุมการยกร่องปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานปฏิรูปที่ดิน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานท้องถิ่น ร่วมกันตรวจสอบแนวเขตที่ดิน และนำกฎหมายเข้ามาบังคับใช้อย่างเคร่งครัด 5) การอนุรักษ์ต้นสะเตียว และ 6) การอนุรักษ์ต้นเสม็ดขาวโดยเจ้าหน้าที่หน่วยงานอนุรักษ์รณรงค์ไม่ตัดทำลายต้นสะเตียวและต้นเสม็ดขาวที่ยังมีอยู่ตามริมน้ำในธรรมชาติและปลูกเพิ่มขึ้นในป่าพรุ 7) การเพิ่มพื้นที่ปลูกกระจูดหน่วยงานท้องถิ่นต้องจัดสรรพื้นที่ที่เป็นนาข้าวเก่าเป็นหนองน้ำและพื้นที่ที่มีน้ำขังให้ชาวบ้านได้ทำการถอนกระจูดมาปลูก 8) การควบคุมการพัฒนาขยายถนนในป่าพรุ หน่วยงานควรร่วมกันวางแผนกำหนดแนวทางที่เหมาะสม ข้อเสนอแนะ ควรให้ความรู้และสร้างความตระหนักในความสำคัญของป่าพรุ สร้างจิตสำนึกร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ปลูกป่า และร่วมกันดูแลไม่ให้มีคนบุกรุกทำลายหรือเผาป่าพรุรวมถึงใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมแนวทางในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้อยู่อย่างยั่งยืนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherRajamangala University of Technology Srivijayaen_US
dc.subjectการพัฒนาตัวชี้วัดen_US
dc.subjectความยั่งยืนen_US
dc.subjectการจัดการป่าพรุen_US
dc.subjectswamp forest managementen_US
dc.titleการพัฒนาตัวชี้วัดความยั่งยืนสำหรับการจัดการป่าพรุควนเคร็ง จังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.titleThe Development of Sustainable Indicators for Khuan Khaeng Swamp Forest Management in Nakhon Si Thammarat Provinceen_US
dc.typeResearch Articleen_US


Files in this item

Thumbnail

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record