การศึกษากระบวนการฆ่า การชำแหละ คุณภาพซากของแพะเนื้อลูกผสมในพื้นที่จังหวัดกระบี่
The Study of Killing Process, Dissection, and Carcass Quality of Goats Meat in Krabi Province
View/ Open
Date
2020Author
Supinya Chujai | สุภิญญา ชูใจ
Porntip Thongmanee | ภรณ์ทิพย์ ทองมณี
Sirisak Cheechang | สิริศักดิ์ ชีช้าง
Dhiravit Chantip | ธีระวิทย์ จันทร์ทิพย์
Jiraporn Panapun | จิราภรณ์ ปาณพันธุ์
Natsuda Raweewan | ณัฐสุดา ระวีวรรณ
Supitchaya Kleangpradit | สุพิชญา เกลี้ยงประดิษฐ์
Metadata
Show full item recordAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา กระบวนการฆ่า ชำแหละ และคุณภาพซากของแพะเนื้อลูกผสมเพศผู้ อายุ 4, 6, 7, 8 และ 9 เดือน ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ โดยการเก็บตัวอย่างเนื้อ น้ำหนักแพะมีชีวิต น้ำหนักแพะหลังฆ่า น้ำหนักแพะหลังเผาซาก เปอร์เซ็นต์ซาก ค่าแรงตัดผ่าน พื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน องค์ประกอบทางเคมีโปรตีน และไขมัน โดยการเก็บตัวอย่างจากเนื้อแพะบริเวณกล้ามเนื้อสันในของแพะลูกผสมบอร์-แองโกลนูเบียนเพศผู้ จำนวน 28 ตัว ในโรงฆ่าแพะของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกระบี่ จำนวน 4 โรง การศึกษาได้ทำการเก็บข้อมูลกระบวนการฆ่าแพะ และตัวอย่างเนื้อแพะบริเวณกล้ามเนื้อสันใน พบว่ากระบวนการฆ่าแพะทั้ง 4 โรงไม่มีความแตกต่างกัน โดยทั้ง 4 โรง มีวิธีกระบวนการฆ่าแพะ ดังนี้ การเชือดคอเพื่อเอาเลือดออก โดยทำการตัดบริเวณเส้นเลือดดำใหญ่บริเวณลำคอ นำเครื่องในออก ใช้ไฟเผาขนซากแพะ ทำความสะอาดซาก ตัดแต่งซากตามความต้องการของผู้บริโภค ตลาดการบริโภคเนื้อแพะในพื้นที่จังหวัดกระบี่ เกษตรกรนิยมบริโภคเนื้อแพะแบบติดกระดูก โดยเครื่องใน อวัยวะสืบพันธุ์ ทำการสับและจำหน่ายรวมกัน ค่า pH ของเนื้อแพะที่ผ่านการฆ่า 1 ชั่วโมง มีค่า 6.55 และและลดลงหลังจากแช่ซากที่อุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง เท่ากับ 6.05 ค่าพื้นที่หน้าตัดเนื้อสัน และค่าแรงตัดผ่านมีค่าสูงเมื่อแพะมีอายุเพิ่มมากขึ้น คุณค่าทางโภชนะของเนื้อสันในโปรตีนและไขมันพบว่า มีค่าอยู่ในช่วง 50.78-75.00 และ 4.70-13.48 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ