รูปแบบการออกดอกของปาล์มน้ำมันสายพันธุ์การค้า ที่ปลูกในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร
Pattern of Flowering of Oil Palm Cultivars Planted at Tha sae District, Chumphon Province
View/ Open
Date
2019Author
Sudanai Krualee | สุดนัย เครือหลี
Apinan Intaratsame | อภินันท์ อินทรัศมี
Wutisak Rattanasupa | วุฒิศักดิ์ รัตนสุภา
Metadata
Show full item recordAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการออกดอกของปาล์มน้ำมันสายพันธุ์การค้าที่ปลูกในอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ปาล์มน้ำมัน 8 สายพันธุ์ (สุราษฏร์1, สุราษฏร์2, สุราษฏร์3, สุราษฏร์4, สุราษฏร์5, สุราษฏรุ์6, เปารงค์ และลาเม่) อายุ 10 ปี จำนวน 10 ต้น ถูกใช้ในแผนการทดลองแบบสุ่มอย่างสมบูรณ์ แต่ละต้นถูกนับจำนวนช่อดอกตัวเมียที่เกิดจากทางใบ 25 ทางใบ (ในรอบ 1 ปี ผลิตได้ประมาณ 25 ทางใบ) เพื่อหาจำนวนดอกตัวเมียที่ผลิตในรอบปีและจำนวนต้นที่ให้ดอกตัวเมียในแต่ละทางใบ จำนวนดอกตัวเมียที่ผลิตในรอบปีถูกเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยวิธี Duncan's Multiple Range Test (DMRT) ส่วนจำนวนต้นที่ให้ดอกตัวเมียในแต่ละทางใบถูกเปรียบเทียบโดยวิธี Chi square ผลการทดลองพบว่า ปาล์มน้ำมันต่างสายพันธุ์มีจำนวนดอกตัวเมียในรอบปีแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ซึ่งปาล์มน้ำมันสายพันธุ์สุราษฏร์1 มีจำนวนดอกตัวเมียในรอบปีสูงสุด (18.3 ช่อดอก) สำหรับจำนวนต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ดอกตัวเมียในแต่ละทางใบพบว่า จำนวนต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ดอกตัวเมียในทางใบที่ 9, 10, 12, 13, 14, 21, 22 และ 25 มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 99% จำนวนต้นปาล์มน้ำมันที่ให้ดอกตัวเมียในทางใบที่ 3, 11, 20, 23 และ 24 มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ส่วนทางใบอื่นๆไม่พบความแตกต่างทางสถิติของจำนวนต้นที่เกิดช่อดอกตัวเมียในทางใบ จากผลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าปาล์มน้ำมันต่างกันมีรูปแบบการออกดอกที่แตกต่างกัน หากเกษตรกรทราบรูปแบบการออกดอกของปาล์มน้ำมันจะสามารถนำมาใช้ในการจัดการพันธุ์ปาล์มน้ำมันในแปลงเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อเนื่อง